จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน
1.ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในการทำงาน เช่น การไม่ยิงบาร์โค้ดเมื่อมีสินค้าเข้าหรือออกจากคลัง ทำให้นับสินค้าไม่ตรงกับในระบบ ต้องเสียเวลานับใหม่ หรือแม้กระทั่งการหยิบสินค้าผิด ทำให้ต้องไปหยิบใหม่หรือการเก็บสินค้าผิดที่ สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดต้นทุนที่อาจมองว่าเล็กน้อยในเรื่องของเวลา แต่ลองเก็บข้อมูลของเวลาที่สูญเสียไปดู แล้วแปลงมาเป็นต้นทุนที่จับต้องได้ มันคงเป็นความสูญเสียที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
2. ลดการเก็บสินค้าในคลัง วิธีการ Cross Docking
วิธีการ Cross Docking เป็นการรับสินค้าเข้าเพื่อกระจายออกไปยังลูกค้าทันที ไม่มีการนำสินค้าเก็บในคลัง การทำ Cross Docking จะช่วยลดต้นทุนได้มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการจัดการสินค้าที่อยู่ในคลัง หรือต้นทุนค่าแรงในการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลัง
3.การใช้ระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ
ในบางจุด หากสามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติได้ จะเป็นการลดต้นทุนที่ดีเยี่ยม อาทิเช่น การใช้รางเลื่อนหรือสายพาน ในการช่วยเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อประหยัดเวลาและแรงงานและเป็นการลดการใช้แรงงานสิ้นเปลือง ใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีให้คุ้มค่าที่สุด
4. การใช้พื่นที่ให้คุ้มค่า
ลองสำรวจภายในคลังสินค้าของคุณดูสิว่า บางพื้นที่ คุณจัดเรียงสินค้าอย่างเปลืองพื้นที่มากไปหรือไม่ โดยอาจมีการจัดเก็บเป็นพื้นที่ในแนวดิ่งมากขึ้น แทนที่จะใช้พื้นที่ในแนวราบอย่างเดียว, มีการจัดการหรือกำจัดสินค้าที่เป็นประเภท Dead stock ออกไปจากคลังสินค้า หรือ พาลเลทที่ใช้บางอันก็ใหญ่เกินไป ทำให้เปลืองพื้นที่ใช้สอย ควรจะเปลี่ยนเป็นพาลเลทที่มีขนาดเหมาะสม
5.ควบคุมสภาพแวดล้อมในคลังสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ หรือความชื้นอากาศ ที่มีผลกระทบต่อสินค้าภายในคลัง ควรมีการจัดการ ควบคุม และดูแลเพื่อให้สินค้าที่อยู่ในคลังไม่ได้รับความเสียในจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมนั้นๆ จนทำให้ไม่สามารถขายสินค้าได้แล้วเกิดเป็นความสูญเสียเกิดขึ้น
6. เจรจากับผู้ขายวัตถุดิบ
ทุกวันนี้ผู้ขายวัตถุดิบอาจส่งสินค้าล็อตใหญ่ให้คุณครั้งเดียว และเป็นภาระคุณในการเก็บวัตถุดิบไว้ในคลัง เกิดต้นทุนการบริการสินค้าคงคลัง ลองเจรจากับผู้ขายให้ทยอยส่งวัตถุดิบให้ อาจนำระบบการจัดการอย่างเช่น MRP หรือ Kanban มาใช้
7. มีการบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้งานมันก็จะเสื่อมไปตามการเวลาการใช้งาน ถ้าไม่ได้มีการบำรุงรักษาก็อาจะส่งผลให้เกิดอันตรายกับการใช้งานของพนักงาน หรือ อาจจะเกิดความผิดพลาดในเรื่องของการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการบริหารงานคลังสินค้า ดังนั้นเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบต่างๆ ควรมีการตั้งตารางเพื่อตรวจจเช็คและบำรุงรักษาอยู่อย่างสม่ำเสมอ
8. ประหยัดพลังงาน
ต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าอีกตัวหนึ่งที่ต้องนึกถึง คือ เรื่องพลังงาน ลองนึกถึงระบบที่ใช้ช่วยประหยัดพลังงาน อย่างเช่นใช้ระบบไฟฟ้าแบบออโตเมติก กำกับควบคุมการใช้ไฟและน้ำจากพนักงาน, เปลี่ยนการใช้น้ำมันกับรถโฟล์คลิฟต์ เป็นแก๊ส, เปลี่ยนหลอดไฟนีออนเป็นหลอดประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนกระเบื้องบางแผ่น ให้เป็นแผ่นโปร่งแสง ลงทุนครั้งเดียว แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
9. กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดต้นทุน
พนักงานที่ทำงานอยู่หน้างานทุกวัน จะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ตรงจุดไหนของการทำงานที่ใช้พลังงานอย่างไร้ค่า ตรงจุดใด ที่สามารถปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หรือ ปรับปรุงงานเพื่อให้ลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายได้
10. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรมีการทำและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพราะมิเช่นนั้นกิจกรรมต่างๆ ที่เราตั้งใจทำเพื่อเป็นโครงการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การลดการเคลื่อนย้ายที่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, ลดสินค้าคงคลังที่ไม่ก่อนประโยชน์, ลดการเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลง จะเป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่เห็นเป็นประสิทธิพล หรือ ในทางตรงกันข้ามอาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต่อเนื่องตามมาภายหลัง
ทั้งหมดนี้เป็นเพียบตัวอย่างที่ทีมงาน HM Group ได้รวบรวมมาไว้ให้ทุกท่านได้ลองตระหนักถึงการจัดการเรื่องต้นทุนสินค้าในคลัง ครับ