10 วิธี การจัดการเพื่อลดต้นทุนในคลังสินค้า
จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน
เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) คือเครื่องมือช่างอุตสาหกรรมชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการลบคมที่ปากรูที่ทำการเจาะ และที่บริเวณขอบของชิ้นงาน เพื่อขจัดส่วนที่เหลือจากการเจาะซึ่งจะช่วยปรับปรุงพื้นผิวของผลิตภัณฑ์และลบขอบคมที่เป็นอันตรายออกไป
โดยการลบคมจะมีลักษณะรูปกรวยเหนือรูที่ทำการเจาะ เพื่อให้รูเจาะมีลักษณะที่เหมาะกับการใส่หัวน็อต สกรู หรือตัวยึดวัสดุต่างๆ
เคาเตอร์ซิงค์ (Counter Sink) มีขนาดความกว้างตั้งแต่ 30 องศา ถึง 120 องศา และมีหลายแบบให้เลือกใช้งาน เคาเตอร์ซิงค์มีลักษณะคล้ายดอกสว่านที่ใช้สำหรับเซาะร่องที่จะสร้างร่องกลมเพื่อซ่อนหัวของสกรูหัวจม, หมุดย้ำ, สลักเกลียวของกรู
ซึ่งการใช้งาน เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะถ้าไม่ลบคมออกจะทำให้เกิดขอบคมขึ้นจากการใช้สกรูหรือสลักเกลียว
จะทำให้ส่วนหัวของสรูยื่นออกมาจากพื้นผิวของวัตถุจะทำให้ชิ้นงานดูไม่สวยงาม และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งการที่นำชิ้นงานไปใช้งานหรือนำไปประกอบกับชิ้นงานในส่วนอื่นๆ
การเลือกใช้งาน เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) ให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่จะนำไปใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะถ้าเลือกใช้งานได้เหมาะกับวัสดุชิ้นงานที่จะทำการลบคมจะทำให้การทำงานง่ายและรวดเร็วขึ้นและไม่ทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย
โดยการเลือก เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้
องศาของ เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) คือขนาดของมุมของการลบคมเมื่อใช้งานโดยจะต้องเลือกองศาให้สัมพันธ์กับขนาดของหัวสรูที่เราจะนำมาใช้งานกับรูที่เราได้ทำการเจาะเพื่อให้องศาที่ลบคมโดย เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) สามารถแนบเข้ากับองศาของหัวสรูได้อย่างแนบสนิทพอดี
มุมลบมุมของ เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้หรือมุมลบมุมของสกรูหรือสลักเกลียว โดยทั่วไปมุมลบมุมนั้นจะอยู่ที่ 60, 82, 90, 100, 110 หรือ 120 องศาโดยที่มุมจะถูกวัดจากปลายทั้งสองของช่องเปิด โดยทั่วไปแล้ว เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink)
ซึ่งการเลือกองศาของ เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) มีความสำคัญมาก โดยถ้าเลือกขนาดองศาที่ไม่พอดีกันเมื่อทำการขันสรูอาจทำให้เกิดแรงตึงระหว่างบริเวณส่วนของหัวสกรูและตัวสกรู อาจจะทำให้สกรูขาดระหว่างการขันได้ โดยในปัจจุบันองศาที่นิยมใช้งานมากที่สุดจะเป็นขนาด 90 องศา
ฟอร์มของ เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) คือจำนวนของฟันที่มี
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับเจาะเนื้อวัสดุที่นิ่งและต้องใช้รอบสูงในการเจาะเพื่อให้เศษหลุดออกมาได้ง่าย เช่น อลูมิเนียม
จะมีร่องคายเศษที่กว้างกว่าเหมาะสำหรับวัสดุที่นิ่ม ใช้ในกรณีเจาะลึกเพราะคายเศษได้ดีแต่ แข็งแรงน้อยกว่าแบบหลายฟัน
ฟัน สามารถเก็บรายละเอียดผิวได้สวยกว่า นิยมใช้กับวัสดุแข็งเช่น เหล็ก แต่ร่องคายเศษจะเล็ก จึงคายเศษได้ไม่ดี
วัสดุของ เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) คือวัสดุที่นำมาผลิตโดยจะนิยมมี 2 ประเภทคือ
Carbide ( คาร์ไบด์ ) เป็นการผสมระหว่าง ธาตุทังสเตน และธาตุคาร์บอน การผสมธาตุคาร์บอนจะทำให้ทังสเตน มีความแข็งมาก สำหรับเจาะรูที่มีความแข็งแรงสูง มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการสึกกร่อน การผิดรูปทรง กระจายความร้อนได้ดี และมีความเหนียวค่อนข้างสูง จึงทำให้คาร์ไบด์มีความแข็งแรงรองจากเพชร มีอายุการทำงานที่ยาวนานแม้จะถูกลับคมแล้ว (หน้าที่ลบคมแล้ววัสดุยังเป็นคาร์ไบด์อยู่)
HSS ผลิตจากเหล็กผสม พิเศษ เปอร์เซ็นต์โคบอลต์สูงโดยมีส่วนผสมหลักคือ C , Cr , Mo , W , V , Co , Mn และ Si นั้นมีจุดเด่นที่แตกต่างจากดอกสว่านคาร์ไบต์ คือเรื่องความเหนียวของดอกสว่าน โดยโอกาสที่ดอกสว่าน HSS จะหักนั้นเกิดขึ้นได้ยาก มีราคาที่ต่ำกว่าคาร์ไบด์สำหรับการใช้งานที่ต้องการเจาะวัสดุที่มีความแข็งทั่วไป
แบล็คออกไซด์ Black Oxide (Bo) มีความหล่อลื่นมากกว่าและมีความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชั่น / การเกิดสนิม การคลายความร้อนของการเคลือบออกไซด์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อายุการใช้งานดีขึ้น 50% และไม่เป็นสนิม
ไทเทเนียมไนไตรด์ (TiN) โดยส่วนมากจะเคลือบกับวัสดุเหล็กกล้าคาร์บอน HSS ถ่ายเทความร้อนได้ดี ทำให้ผิวเสียหายยากขึ้นส่งผลให้คมอยู่ได้นานขึ้น
ไทเทเนียมคาร์บอนไนไตรด์ (TiCN) สำหรับวัสดุที่แข็งมากเช่นเหล็กหล่อ ประสิทธิภาพสูงกว่า TiN มาก
ไทเทเนียมอลูมิเนียมไนไตรด์ (TiAlN) ทนต่อที่อุณหภูมิสูง เหมาะสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมทุกชนิด แต่ไม่เหมาะสำหรับอลูมิเนียม
ดังนั้นการเลือกใช้งาน เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) ให้เข้ากับสกรูให้ได้อย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะ ถ้ารูที่เกิดจากการลบคมของ เคาเตอร์ซิงค์ (Countersink) ที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะกลืนหัวของสกรูหรือตัวยึดทำให้เกิดร่องของชิ้นงานกับตัวสกรู ในขณะที่ถ้าขนาดรูที่มีขนาดเล็กเกินไปจะไม่พอดีกับหัวของสกรู จะทำให้หัวสกรูไม่ฝังจมไปกับตัวชิ้นงานจึงนําไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้
จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน
การบริการ "workstations and storage solutions" ของHM Group สามารถให้บริการตั้งแต่เริ่มต้นงานดีไซน์จนกระทั่งจบกระบนการติดตั้ง และในทุกๆขั้นตอนเรามีมุ่งมั่นเพื่อที่จะให้คุณได้รับคุณภาพและการที่งานที่ดีที่สุด บนต้นทุนที่ดีที่สุดเช่นกัน
ประแจ เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดที่สำคัญ ใช้สำหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู นอต สลักเกลียว และท่อประแจจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวแตกต่างกัน
เครื่องมือช่างที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่างมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่นที่จำเป็นจะต้องมีติดบ้านไว้ นั่นก็คือ สว่าน เนื่องจากเป็นเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับงานหลากหลายทั่วไป เรียกว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย ใครๆก็สามารถใช้ได้
ประแจปอนด์ (Torque Wrench) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์คเพื่อการไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป
เครื่องมือช่างบ้างชิ้นที่ขายกันอยุู่ตามท้องตลาดทุกวันนี้ต่างก็มีฟังก์ชั่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์ในแต่ล่ะรุ่นและในแต่ล่ะแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์ให้เข้ากับลักษณะงานของช่าง ในปัจจุบันเราใช้งานอุปกรณ์ช่างพื้นฐานอย่างไขควงกันในงานหลายประเภททำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ