ข่าวสาร มีผู้อ่าน 59,268
เขียนโดย Kamonpong Yiengsawang | Apr 28, 2022

ความรู้เกี่ยวกับตะไบ ประเภทและ การดูแลรักษา

ตะไบ คือ เครื่องมือที่ทำมาจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขัดแต่งผิว หรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการขจัดเนื้อโลหะทิ้งไปไม่มากนัก ดังนั้น การตะไบ ก็คงจะหมายถึง การตัดเฉือนผิววัสดุงานออกในลักษณะการถากหรือขูดเพื่อลดขนาดของชิ้นงานหรือเพื่อปรับแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อยตามความต้องการ
ตะไบ เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ทำจากเครื่องมือ (Tool Steel) โดยการนำไปขึ้นรูปแล้วนำไปชุบแข็ง (Hardening) ที่ผิวหน้าของตะไบจะมีคมตัดที่เรียกว่า ฟันตะไบ โดยที่ฟันตะไบเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวขนานกันไปตลอดความยาวก้านของตะไบ และแถวของตะไบนี้จะทำมุมเอียงกับขอบตะไบด้วยครับ

ส่วนประกอบของตะไบ

ตะไบประกอบไปด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญ 5 ส่วน ดังนี้



 

1. หน้าตะไบ (Face)  เป็นพื้นผิวที่จะถูกเครื่องจักรกลขึ้นรูปให้มีคมตัดของตะไบเรียงเป็นแถวซ้อนกันไปตลอดความยาวของหน้าตะไบ

2. ขอบตะไบ (Edge) เป็นความหนาของตะไบที่ขอบของตะไบจะมี 2 ชนิด

          2.1 ขอบข้างเรียบ ใช้สำหรับตะไบงานที่ไม่ต้องการให้บอบข้างของตะไบตัดเฉือนเกินเนื้องานขณะที่ปฏิบัติงานตะไบ

          2.2 ขอบข้างมีคม โดยจะมีลักษณะเป็นฟันหยาบๆใช้สำหรับขูดผิวงานเพื่อขูดสนิมหรือสิ่งสกปรกที่ผิวหน้างานก่อนลงมือปฏิบัติงาน

3. ปลายตะไบ (Tip) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของตะไบสำหรับใช้มือข้างที่ไม่ถนัดประคองหรืออกแรงกดเพื่อให้คมตะไบกินเนื้อวัสดุงานมาก-น้อย ตามต้องการ

4. โคนตะไบ (Heel) เป็นส่วนที่พิมพ์สัญลักษณ์ยี่ห้อตะไบและแหล่งที่ผลิต อยู่ส่วนปลายด้านล่างของผิวหน้าตะไบติดกับกั่นตะไบ ที่บริเวณโคนตะไบจะไม่มีฟันตะไบอยู่

6. กั่นตะไบ (Tang) มีลักษณะเป็นปลายแหลม กั่นตะไบจะถูกยึดอยู่ภายในด้ามตะไบขนาดใช้งาน

7. ด้ามตะไบ (Handle) อาจเป็นด้ามไม้หรือพลาสติกสวมเข้ากับกั่นตะไบ เพื่อให้มือจับประคอง  ในการปฏิบัติงานด้ามตะไบที่ดีควรมีลักษณะกลมมน ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้นานโดยไม่รู้สึกเจ็บมือ

ลักษณะของฟันตะไบ

ลักษณะของฟันตะไบที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สามารถแบ่งแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

               1. ลักษณะคมตัดเดี่ยว  (single-cut) จะเป็นลักษณะร่องฟันมีแถวเดียวซึ่งจะทำมุมกับแนวยาวของหน้าตะไบ


 

               2. ลักษณะคมตัดคู่  (Double-cut)  จะแตกต่างกับลักษณะแรกตรงที่ร่องฟันจะตัดกัน  ปลายคมตัดจะมียอดแหลมสามารถตัดเฉือนวัสดุได้ดีกว่า


 

               3.  ลักษณะคมตัดเป็นรูปโค้ง  (Curved-cut)  ลักษณะของฟันชนิดนี้จะเป็นรูปโค้งมีระยะห่างระหว่างฟันมาก เวลาใช้งานเศษวัสดุจะไม่ติดร่องฟัน  ใช้ทำงานตกแต่ง  วัสดุนี้มีลักษณะโค้งนูนจึงสะดวกกว่าแบบอื่นมากครับ


 

                นอกจากลักษณะของฟันตะไบที่แบ่งออกเป็น 3 แบบแล้ว ยังสามารถแบ่งความหยาบละเอียด หรือระยะห่างระหว่างแถวของฟันตะไบออกได้อีก 6 แบบ คือ หยาบมาก (Rough) หยาบ (Coarse) หยาบปานกลาง (Bastard) ละเอียดปานกลาง (Second cut ) ละเอียด (Smooth) และ ละเอียดมาก (Dead Smooth)

                ตะไบที่นิยมใช้ส่วนมาก จะเป็นตะไบแบบฟันหยาบปานกลาง ตะไบแบบฟันละเอียดปานกลาง และตะไบแบบฟันละเอียดครับ สำหรับตะไบแบบฟันหยาบมาก แบบฟันหยาบและฟันละเอียดมาก จะใช้ในงานเฉพาะอย่างเท่านั้น โดยความหยาบละเอียดของตะไบจะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดความยาวของตะไบ ตะไบที่มีขนาดใหญ่จะมีฟันหยาบกว่าตะไบที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นตะไบขนาดเล็ก แบบฟันหยาบมาก อาจจะมีความหยาบละเอียดของฟันตะไบเท่ากับตะไบขนาดใหญ่แบบฟันละเอียดปานกลางก็เป็นได้

 

ประเภทของตะไบ              

ตะไบแบ่งออกเป็น 7 ชนิดตามรูปร่างและลักษณะการใช้งาน ดังนี้

1.ตะไบแบน (Flat File) หน้าตะไบเป็นรูปสี่แหลี่ยนพื้นผ้า นิยมใช้กับงานทั่ว ๆไป


 

2.ตะไบกลม (Round File) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตะไบหางหนู (Rat Tail File) ฟันของตะไบมีทั้งแบบลายตัดเดี่ยวและลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบส่วนโค้งของชิ้นงาน ใช้ตะไบขยายขนานรูกลม และใช้ตะไบร่องโค้ง


 

3.ตะไบสี่เหลี่ยม (Square File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบชิ้นงานที่เป็นมุมฉาก นอกจากนี้ยังใช้ในการตะไบขยายขนาดร่อง หรือ รูชิ้นงานที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น ร่องลิ่ม และร่องเฟืองสไปล์น (Splines) เป็นต้น


 

4.ตะไบท้องปลิง (Half Round File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้งานผิวงานที่เป็นโค้ง


 

5.ตะไบสามเหลี่ยม (Three Square File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบมุมของชิ้นงานที่มีมุมน้อยกว่า 90 องศา


 

6.ตะไบปลายมีด (Knife File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบร่องงานที่มีขนาดแคบ ๆ ลักษณะตะไบปลายมีด


 

7.ตะไบปลายงอ (Liffler’s File) ตะไบชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานทำแม่พิมพ์โลหะ(Tool and Die) และงานทำแม่พิมพ์พลาสติก (Mold) โดยเฉพาะ


 

การจัดเก็บบำรุงรักษา

- ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่

- ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก

- ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ

- ทำความสะอาดตะไบโดยใช้แปรงทองเหลืองปัดเศษโลหะออก

- ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย

              เราก็จำเป็นต้องเลือกใช้ตะไบให้ถูกต้องตามคุณสมบัติเฉพาะของมัน เพื่อที่จะได้งานที่มีคุณภาพและเนื้องานที่ดี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

บทความ

10 วิธี การจัดการเพื่อลดต้นทุนในคลังสินค้า

จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน

Hoffmann Group Workstation and Storage Design

การบริการ "workstations and storage solutions" ของHM Group สามารถให้บริการตั้งแต่เริ่มต้นงานดีไซน์จนกระทั่งจบกระบนการติดตั้ง และในทุกๆขั้นตอนเรามีมุ่งมั่นเพื่อที่จะให้คุณได้รับคุณภาพและการที่งานที่ดีที่สุด บนต้นทุนที่ดีที่สุดเช่นกัน

ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานเพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานประแจได้อีกนาน

ประแจ เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดที่สำคัญ ใช้สำหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู นอต สลักเกลียว และท่อประแจจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวแตกต่างกัน

เลือกซื้อสว่านยังไง? ให้ถูกประเภทการใช้งาน

เครื่องมือช่างที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่างมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่นที่จำเป็นจะต้องมีติดบ้านไว้ นั่นก็คือ สว่าน เนื่องจากเป็นเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับงานหลากหลายทั่วไป เรียกว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย ใครๆก็สามารถใช้ได้

การเลือกซื้อประแจปอนด์หรือประแจทอร์ค

ประแจปอนด์ (Torque Wrench) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์คเพื่อการไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป

GARANT Screwdriver- ไขควงด้ามจับกันลื่น

เครื่องมือช่างบ้างชิ้นที่ขายกันอยุู่ตามท้องตลาดทุกวันนี้ต่างก็มีฟังก์ชั่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์ในแต่ล่ะรุ่นและในแต่ล่ะแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์ให้เข้ากับลักษณะงานของช่าง ในปัจจุบันเราใช้งานอุปกรณ์ช่างพื้นฐานอย่างไขควงกันในงานหลายประเภททำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ

สมัครรับข่าวสาร สมัครเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น สิทธิพิเศษจาก บริษัท เอช.เอ็ม. กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด