ข่าวสาร มีผู้อ่าน 20,020
เขียนโดย Kamonpong Yiengsawang | Sep 03, 2020

ชนิดของถุงมือ (Hand Protection)

ถุงมือหรืออุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บที่มือ (Hand Protection) มีความจำเป็นมาก ในปัจจุบันมีการบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานเกิดขึ้นมากจากสถิติจะเกิดจากการบาดเจ็บที่มือมีอัตราการเกิดสูงขึ้น เป็นพิเศษ ในขณะปฎิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และแขน นั้นมีความเสี่ยงอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ หรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตายร้ายแรงได้ เพราะฉะนั้นเมื่อต้องสัมผัสกับอันตรายที่อาจเกิดกับมือ เช่น การสัมผัสกับพื้นผิวที่ร้อน วัตถุมีคม สารเคมี ต้องสวมใส่ถุงมือถุงครั้ง เพราะถ้าเกิดได้รับบาดเจ็บต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาขึ้นมา ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาในส่วนนี้เราสามารถป้องกันการเกิดขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันมือชนิดต่างๆ ตามความเสี่ยงของลักษณะงาน ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้

มาตรฐาน: ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับถุงมือป้องกัน จะมีมาตฐานควบคุมโดย DIN EN 420 โดยมาตรฐานนี้จะกำหนดคุณลักษณะของถุงมือป้องกันต่างๆ ดังนี้ :

  • วิธีการทดสอบที่เกี่ยวข้องที่จะใช้
  • ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับกฎการออกแบบ
  • การผลิตถุงมือ
  • ความต้านทานของวัสดุถุงมือต่อการซึมผ่านของน้ำ
  • คุณภาพในการป้องกันอันตราย และความสะดวกสบายและลักษณะการทำงาน
  • การทำเครื่องหมายและข้อมูลที่จัดหาให้ (โดยผู้ผลิต)

โดยมาตรฐานของ DIN EN 420 จะมีการแบ่งออกเป็นมาตรฐานของสินค้าในแต่ละชนิดของสินค้า ดังต่อไปนี้

EN 388 การป้องกันความเสี่ยงทางกล
EN 407 การป้องกันความร้อน
EN 511 การป้องกันความเย็น
EN 374 การป้องกันสารเคมีและจุลินทรีย์
EN 12477 การป้องกันความร้อนและความเสี่ยงทางกลระหว่างการเชื่อม
EN 16350 การป้องกันความเสี่ยงทางกล
EN 60903 ถุงมือป้องกันฉนวนสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้า
EN ISO 10819 การป้องกันการสั่นสะเทือนและผลกระทบทางกล

 

1.ถุงมือกันบาด (Cut Resistant Gloves)
ข้อแนะนำการใช้ 
- งานที่เกี่ยวข้องกับของมีคม เช่น มีด ใบตัด
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในงานที่มีโอกาสปนเปื้อนกับน้ำมัน

2.ถุงมือกันสารเคมี (Chemical Protective Gloves)
ข้อแนะนำการใช้
 
- งานขนย้ายสารเคมี
- งานขนย้ายสลัดจ์ที่มีการปนเปื้อนปรอท
- งานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
- งานทำความสะอาดชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์
- งานเข้าไปความสะอาดและล้างถัง กระบวนการผลิต และเรือกักเก็บก๊าซ/น้ำมัน
ข้อควรระวัง         
- หลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม
- ไม่ควรใช้ในงานที่ต้องสัมผัส อะซิโดน เบนซิน เมทิลเอทิลคีโดน (เอ็มอีเค) ฟีนอล สไดรีน กรดซัลฟูริก และโครคลอโรเอทิลีน
 


3.ถุงมือสำหรับงานหนัก Special Gloves
ข้อแนะนำการใช้
 
- งานที่มีความเสี่ยงสูง (จากผลการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย)
- งานซ่อมบำรุง
- งานยก/เคลื่อนย้ายสินค้า
- งานทำงานกับอุปกรณ์ยก เช่น รอก โซ่ สลิง เป็นต้น
- งานที่มีผลกระทบสูง งานที่อาจเกิดการกระทบ/กระแทกอย่างแรง
ข้อควรระวัง          
- ควรเลือกขนาดถุงมือให้เหมาะสม
- ไม่ควรใช้ในงานที่มีโอกาสปนเปื้อนกับน้ำมัน
 



4.ถุงมือถักผ้าฝ้าย (Cotton And Knitted Gloves)
ข้อแนะนำการใช้
 
- งานซ่อมบำรุงทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การยก/เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักเบา งานทำความสะอาดทั่วไป
ข้อควรระวัง         
- ไม่ควรใช้ในงานที่มีโอกาสสัมผัสสารเคมีหรือเปื้อนน้ำมัน
- หลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม
- ไม่สามารถป้องกันการตัดบาดได้



5.ถุงมือของช่างเชื่อม (Welder's gloves)
ข้อแนะนำการใช้ 
- งานเชื่อม
 - งานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
 - งานที่มีความร้อน
ข้อควรระวัง        
- ขีดความสามารถในการป้องกันการหนีบ/กระแทก ต่ำ
- ใช้สำหรับงานเชื่อมเท่านั้นไม่แนะนำให้ใช้ในงานทั่วไป


6.ถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง (Disposable gloves)
ข้อแนะนำการใช้ 
- งานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
- งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอัตราย เช่น เบนซิน โทลูอีน ไซลีน อะซีโตนกรดซัลฟูริก และ โซเดียมไฮครอกไซต์ 
ข้อควรระวัง         
- หลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม
- ไม่แนะนำให้ใช้นงานทั่วไป


7.ถุงมือกันไฟฟ้า (Electrical Gloves)
ข้อแนะนำการใช้ 
- งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูง
ข้อควรระวัง         
- ไม่สามารถป้องกันอันตรายจากการหนีบหรือการกระแทกได้
- หลีกเลี่ยงการทำงานกับวัตถุที่มีความแหลมคม
- ไม่แนะนำให้ใช้นงานทั่วไป
- ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 500 โวลต์

 

บทความ

10 วิธี การจัดการเพื่อลดต้นทุนในคลังสินค้า

จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน

Hoffmann Group Workstation and Storage Design

การบริการ "workstations and storage solutions" ของHM Group สามารถให้บริการตั้งแต่เริ่มต้นงานดีไซน์จนกระทั่งจบกระบนการติดตั้ง และในทุกๆขั้นตอนเรามีมุ่งมั่นเพื่อที่จะให้คุณได้รับคุณภาพและการที่งานที่ดีที่สุด บนต้นทุนที่ดีที่สุดเช่นกัน

ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานเพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานประแจได้อีกนาน

ประแจ เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดที่สำคัญ ใช้สำหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู นอต สลักเกลียว และท่อประแจจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวแตกต่างกัน

เลือกซื้อสว่านยังไง? ให้ถูกประเภทการใช้งาน

เครื่องมือช่างที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่างมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่นที่จำเป็นจะต้องมีติดบ้านไว้ นั่นก็คือ สว่าน เนื่องจากเป็นเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับงานหลากหลายทั่วไป เรียกว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย ใครๆก็สามารถใช้ได้

การเลือกซื้อประแจปอนด์หรือประแจทอร์ค

ประแจปอนด์ (Torque Wrench) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์คเพื่อการไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป

GARANT Screwdriver- ไขควงด้ามจับกันลื่น

เครื่องมือช่างบ้างชิ้นที่ขายกันอยุู่ตามท้องตลาดทุกวันนี้ต่างก็มีฟังก์ชั่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์ในแต่ล่ะรุ่นและในแต่ล่ะแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์ให้เข้ากับลักษณะงานของช่าง ในปัจจุบันเราใช้งานอุปกรณ์ช่างพื้นฐานอย่างไขควงกันในงานหลายประเภททำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ

สมัครรับข่าวสาร สมัครเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น สิทธิพิเศษจาก บริษัท เอช.เอ็ม. กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด