10 วิธี การจัดการเพื่อลดต้นทุนในคลังสินค้า
จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน
ESD (Electrostatic Discharge) หรือไฟฟ้าสถิต เป็นปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งซึ่งจะไม่มีอัตรายต่อมนุษย์โดยตรง แต่เป็นสิ่งที่สามารถทำลายส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าเล็กๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือจะเกิดปัญหาในด้านความแน่นอนในการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่ง ESD นี้จะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่สามารถเกิดในขั้นตอนในการผลิต เช่น ขั้นตอนในการประกอบ, การจับถือวัสดุเครื่องมือ, การปฏิบัติงานในภาคสนาม, การสวมใส่เสื้อผ้าที่มีขนสัตว์, การใช้วัสดุพลาสติก เป็นต้น ESD เกิดขึ้นจากการสะสมประจุบนพื้นผิวของชิ้นงาน ประจุที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดจากกระบวนการเสียดสีระหว่างวัสดุ เมื่อเกิดการสะสมของประจุ สิ่งที่ตามมาคือพื้นผิวทั้งสองจะมีศักย์ไฟฟ้าที่ต่างกัน และหากพื้นผิวสองชนิดมาสัมผัสกันจะเกิดการถ่ายเทของประจุ (คืออิเล็กตรอน) ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหล ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ แต่ยิ่งการถ่ายเทประจุใช้เวลาสั้นเท่าใด ปริมาณกระแสที่เกิดขึ้นก็สูงเท่านั้น (แต่ในระยะเวลาอันสั้น) บางครั้งการถ่ายเทประจุนี้จะทำให้เกิดการกระโดดของกระแสไฟ (เรียกว่า Spark) ด้วยการถ่ายเทประจุจะเกิดขึ้นจนกระทั่งเกิดการสมดุลประจุ (คือศักย์ไฟฟ้าของพื้นผิวทั้งสองมีค่าเท่ากัน นั่นคือพื้นผิวทั้งสองมีประจุเท่ากัน - อาจเป็นกลาง, เป็นบวกทั้งคู่, หรือเป็นลบทั้งคู่ก็ได้)
โดยสิ่งสำคัญคือสัญลักษณ์ 2 อันนี้
สัญลักษณ์แสดงว่าเครื่องมือหรืออุปกณ์ชิ้นนี้ไวต่อ ESD
สัญลักษณ์แสดงว่าเครื่องมือหรืออุปกณ์ชิ้นนี้ป้องกันการเกิด ESD
ปัจจุบันนี้อุปกรณ์ชิ้นส่วนเล็กๆประกอบไปด้วยชั้นออกไซด์บางๆ จำนวนมาก และนับวันยิ่งจะบางลงเรื่อยๆ ชั้นของออกไซด์เหล่านี้สามารถเสียหายได้ง่าย (เกิด Breakdown คือเสียสภาพการเป็นฉนวน) เมื่อมันบางลง, ชั้นของโลหะบางๆที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อวงจรเข้าด้วยกันอาจจะละลายและเปิดวงจร (ขาดออกจากกันทางไฟฟ้า)
เหมือนกับเป็นฟิวส์เนื่องจากกระแสจำนวนมากไหลผ่านและเกิดความร้อนขึ้นอาจจะเสียหายเนื่องจากปรากฏการณ์ "Current Crowding" คือเมื่อมีกระแสไหลผ่านรอยต่อและเกิดความเข้มของกระแสสูงมาก และ ESD อาจทำให้เกิด Electrical Over Stress (EOS) และละลายชั้นของโลหะในอุปกรณ์ได้
ลักษณะบ่งชี้ของความเสียหายอันเนื่องมาจาก EOS
EOS คือความเสียหายเนื่องจากอุปกรณ์ได้รับศักดาหรือกระแสมากกว่าที่มันสามารถทนได้และอุปกรณ์ได้รับศักดาหรือกระแสนั้นไหลผ่านอยู่เป็นเวลานาน (มากกว่า 50 uS) โดยทั่วไปแล้วเราสามารถเห็นร่องรอยของความเสียหายอันเนื่องมาจาก EOS ได้ใต้กล้องจุลทรรศน์อัตราขยายต่ำ ลักษณะที่เราเห็นหลังจากที่เกิดความเสียหายเนื่องจาก EOS คือ โดยทั่วไปสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อัตราขยายต่ำ อาจจะเห็น Bond wire หรือเส้นลายโลหะเกิดการหลอมละลาย อาจเห็นพลาสติกหรือผิวหน้าของ Die มีรอยไหม้ (Burnt) หรือเมื่อ Decapsule แล้วก็ยังคงเห็น Compound เหลือติดอยู่ที่ด้านหน้าของ Die โดยไม่ยอมหลุดร่อนออกง่ายๆ เกิดการเปลี่ยนสี (Discoloration) ของบริเวณที่ไหม้หรือบริเวณที่เสียหาย (ซึ่งจะไม่เป็นกับ ESD)
ลักษณะบ่งชี้ของความเสียหายอันเนื่องมาจาก ESD
ความเสียหายจาก ESD เกิดเนื่องจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว (ซึ่งอาจจะมีการกระโดดของกระแสไฟ เรียกว่า Spark เกิดขึ้นด้วย) ระหว่างวัตถุที่มีศักย์ไฟฟ้าต่างกัน (คือมีประจุต่างกัน) โดยทั่วไปเราสนใจ ESD สองประเภทคือ HBM (Human Body Model) และ CDM (Charge Device Model) อุปกรณ์ของเราจะเสียหายเนื่องจาก ESD เมื่อวัสดุที่เป็นฉนวน (โดยทั่วๆไปคือออกไซด์) ไม่สามารถทนต่อความต่างศักย์ ทำให้ตัวมันเกิดความเสียหายและหมดสภาพของความเป็นฉนวนและทำให้เกิดการนำกระแสระหว่าง Layer สองชั้นได้
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน ESD คือการทำ EPA (Electrostatic Protected Area) คือการออกแบบพื้นที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตโดยเฉพาะ โดยจะประกอบไปด้วย
- Work place/Workstation สถานที่ทำงานที่ได้รับการป้องกัน ESD ควรมีการปรับตัวได้ตามหลักสรีรศาสตร์ ค่าไฟฟ้าสถิตจะกระจายไปตามพื้นที่ทำงานและสายดินเพื่อให้สถานที่ทำงานมีการปรับค่าใช้จ่ายใหม่ให้เป็นกลาง
- Personnel grounding การเกิดไฟฟ้าสถิตจะเกิดการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ดั้งนั้นรองเท้า และ การใช้สายรัดข้อมือป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากในเขต EPA โดยก่อนการเข้าพื้นที่ EPA จะมีการตรวจไฟฟ้าสถิตทุกครั้ง เพื่อให้สามารถนั้งเกาอี้ได้ในขณะปฏิบัติงาน (การนั้งเก้าอี้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด ESD ได้จากการเสียดสีระหว่างเครื่องแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานกับเก้าอี้)
- Tool เครื่องมือควรใช้เครื่องมือที่ป้องกันการเกิด ESD โดยสามารถสังเกตุได้จากสัญลักษณ์ ESD จากเครื่องมือ หรือในคู่มือ
- Markings มีการกำหนดเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ปฏิบัติงานทั่วไปกับพื้นที่ EPA เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าพื้นที่โดยไม่ได้รับการขจัด ESD ของจากร่างกายก่อนเข้าพื้นที่
- Storage/Containers ตู้เครื่องมือ หรือ บรรจุภัณฑ์ ใส่เครื่องมือ หรือ ชิ้นงานควรเลือกที่ป้องกันการเกิด ESD โดยสามารถสังเกตุได้จากสัญลักษณ์ ESD หรือในคู่มือ เพราะการใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วไปการเสียดสีระหว่างการเคลื่อนย้าย จากการรลากหรือการถือ ออกนอกพื้นที่อาจเกิด ESD แฝงเข้ามาในพื้นที่ EPA
- Floor พื้นของ EPA ควรเป็นเป็นสื่อกระแสไฟฟ้าและการทำความสะอาดควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและต้องไม่มีส่วนผสมของการเคลือบผิว
อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามรายการดังกล่าวได้ ขั้นตอนด้านล่างไว้เพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิด ESD ให้มากที่สุด
จากการที่ Hoffmann Group จะต้องมีการจัดเก็บสินค้าและส่งสินค้าไปมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก เลยจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ทีมงาน HM Group เลยอยากนำวิธีการบางส่วนมาแบ่งปันกัน
การบริการ "workstations and storage solutions" ของHM Group สามารถให้บริการตั้งแต่เริ่มต้นงานดีไซน์จนกระทั่งจบกระบนการติดตั้ง และในทุกๆขั้นตอนเรามีมุ่งมั่นเพื่อที่จะให้คุณได้รับคุณภาพและการที่งานที่ดีที่สุด บนต้นทุนที่ดีที่สุดเช่นกัน
ประแจ เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดที่สำคัญ ใช้สำหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู นอต สลักเกลียว และท่อประแจจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวแตกต่างกัน
เครื่องมือช่างที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่างมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่นที่จำเป็นจะต้องมีติดบ้านไว้ นั่นก็คือ สว่าน เนื่องจากเป็นเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับงานหลากหลายทั่วไป เรียกว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย ใครๆก็สามารถใช้ได้
ประแจปอนด์ (Torque Wrench) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์คเพื่อการไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป
เครื่องมือช่างบ้างชิ้นที่ขายกันอยุู่ตามท้องตลาดทุกวันนี้ต่างก็มีฟังก์ชั่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์ในแต่ล่ะรุ่นและในแต่ล่ะแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์ให้เข้ากับลักษณะงานของช่าง ในปัจจุบันเราใช้งานอุปกรณ์ช่างพื้นฐานอย่างไขควงกันในงานหลายประเภททำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ